top of page

"เหมืองผาแดง" ⛏


📌 "เหมืองผาแดง" เคยเป็นแหล่งถลุงแร่โลหะสังกะสีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศมายาวนานกว่า 32 ปี 🧑🏼‍🏭 ก่อนจะปิดตัวลงในปี 2560 หลังการปิดเหมืองต้องฟื้นฟูพัฒนาพื้นที่เหมืองให้กลายเป็นพื้นที่ป่าอีกครั้ง 🌳🌳🌳 เพื่อส่งมอบให้กรมป่าไม้ ต่อไป


📌 ในปี 2560 สวทช. ร่วมกับกรมป่าไม้ หารือแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน 🤝 มุ่งเน้นการพัฒนางานวิชาการ งานวิจัย การใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่าง ๆ 🧪👨🏼‍🔬 ร่วมฟื้นฟูพื้นที่เหมือง เช่น

(1) การพัฒนางานวิจัย เช่น การเก็บรวบรวมพันธุ์พืช/พืชเศรษฐกิจ/ไม้ดอกไม้ประดับ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การศึกษาเห็ดป่าและราแมลง 🧫

(2) การใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ Smart-IoT ร่วมกับการทำโรงเรือนเพื่ออนุรักษ์พันธุ์พืช 🪴

(3) การพัฒนาบุคลากรของกรมป่าไม้ สร้างความรู้ความสามารถทางวิชาการ 📚


📌 จากโครงการ “การศึกษาเห็ดป่าและราแมลงในพื้นที่เหมืองผาแดง” ได้ทำการศึกษาราย่อยสลายไม้กลุ่ม Xylariales ซึ่งพบได้ทั่วไปทั้งในป่าเบญจพรรณ และป่าดิบ 🌳🌳🌳จากการศึกษาความหลากชนิดของราในพื้นที่เหมืองผาแดง จังหวัดตาก สำรวจพบตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 118 รายการ ✨ สามารถจัดจําแนก ในระดับสกุลได้ 9 สกุล และสามารถจัดจำแนกในระดับชนิดได้ 28 ชนิด และสามารถระบุว่าเป็นราชนิดใหม่ของโลก 2 ชนิดคือ Daldinia phadaengensis และ Daldinia flavogranulata และคาดว่าน่าจะพบราชนิดใหม่ของโลกจากราสกุล Pyrenopolyporus อย่างน้อย 2 ชนิดซึ่งอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลและทำการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ✨


📌 ตัวอย่างราที่คัดแยกได้ถูกนำมาศึกษาทางด้านอนุกรมวิธาน ความสัมพันธ์ระดับโมเลกุล และลายพิมพ์น้ำหนักเปปไทด์ ก่อนทำการเก็บรักษาในคลังของ NBT เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต ✨


#เหมืองผาแดง #Xylariales #Daldinia phadaengensis #Daldinia flavogranulata #NBT

8 views0 comments

Comments


bottom of page