top of page

🔬🍄มารู้จักเห็ดในทะเล 𝘏𝘢𝘭𝘰𝘤𝘺𝘱𝘩𝘪𝘯𝘢 𝘷𝘪𝘭𝘭𝘰𝘴𝘢 🌊🧫


✨🧬วันนี้ ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) ขอนำเสนอเรื่อง “ มารู้จักเห็ดในทะเล 𝘏𝘢𝘭𝘰𝘤𝘺𝘱𝘩𝘪𝘯𝘢 𝘷𝘪𝘭𝘭𝘰𝘴𝘢" 🍄🧫🔬

🧫จากที่ได้ทำความรู้จักจุลินทรีย์กลุ่มราทะเลกันไปบ้างแล้ว วันนี้มาทำความรู้จักเห็ดในทะเลกันบ้างนะคะ

เห็ดในระบบนิเวศทางทะเล พบได้ที่ไหนบ้าง มีลักษณะอย่างไรบ้าง ก้อนขาว ๆ นุ่ม ๆ ที่พบอยู่บนไม้นี้คืออะไร และมีบทบาทอย่างไรในระบบนิเวศ มาติดตามกันเลยค่ะ 🤩

🧫ราทะเลประเภทเห็ดพบได้ ทั้งบนท่อนไม้ที่จม หรือลอย บริเวณป่าโกงกาง เห็ดดังกล่าวเดิมมีแหล่งอาศัยอยู่ในระบบนิเวศบนบก แต่เมื่อเวลาผ่านไป เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศหรืออาจถูกพัดพาย้ายถิ่นลงมาบริเวณที่มีน้ำทะเล จึงทำให้เห็ดปรับตัว โดยมีการผลิตเบสิดิโอสปอร์ที่มีขนาดเล็กและมีรยางค์จำนวนมากเพื่อใช้ในการยึดเกาะกับ substrate  และเพิ่มการกระจายของสปอร์ เพื่อให้สามารถดำรงอยู่ในระบบนิเวศทางทะเลได้

 

📚เอกสารอ้างอิง: 📖

Jones, E.B.G., Pilantanapak, A., Chatmala, I., Sakayaroj, J., Phongpaichit, S. and Choeyklin, R. (2006). Thai marine fungal diversity. Songklanakarin J. Sci. Technol., 28(4): 687-708.

Jones, E.B.G., Ramakrishna, S., Vikineswary, S., Das, D., Bahkali, A.H., Guo, S.-Y. and Pang, K.-L. (2022). How Do Fungi Survive in the Sea and Respond to Climate Change? J. Fungi 8: 291.

Kupka, J., Anke, T., Steglich, W. and Zechlin, L. (1981). Antibiotics from basidiomycetes. XI. The biological activity of siccayne, isolated from the marine fungus Halocyphina villosa J. & E. Kohlmeyer. J Antibiot (Tokyo). 34(3): 298-304.

Pang, K.L., Cheng, S. and Jones, E.B.G. (2011). Marine mangrove fungi of Taiwan. Keelung: National Taiwan Ocean University.

Rohrmann, S. and Molitoris, H. P. (1986). Morphological and Physiological Adaptations of the Cyphellaceous Fungus Halocyphina villosa (Aphyllophorales) to its Marine Habitat. Botanica Marina 29 (6): 539-548.

กิตติกรรมประกาศ: ผลงานได้รับการสนับสนุนจาก สวทช. และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ที่มาข้อมูล: ทีมวิจัยราทะเลไบโอเทค สวทช.

ดู 57 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page