top of page

Herbarium

งานการเก็บรักษาตัวอย่างพรรณไม้แห้งในพิพิธภัณฑ์พืชเป็นงานที่มีมานานหลายร้อยปี โดยมีวัตถุประสงค์ไม่เพียงแค่เพื่อการศึกษาค้นคว้าให้รู้จักสิ่งมีชีวิตนั้นๆ   แต่รวมไปถึงการค้นพบสิ่งใหม่ที่สามารถลงลึกไปถึงระดับชนิดพันธุ์ การกระจายทางภูมิศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตนั้นว่าอยู่ภาคพื้นทวีปใดบ้าง หรือเป็นพืชเฉพาะถิ่น หรือพืชถิ่นเดียว ตัวอย่างพรรณไม้แห้งเหล่านี้เป็นหลักฐานสำคัญทางวิทยาศาสตร์ที่บ่งชี้ความหลากหลายขอ'ทรัพยากรธรรมชาติได้ ทั้งในระดับภูมิภาคไปจนถึงระดับโลก การนำตัวอย่างพรรณไม้ที่เก็บรักษาไว้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมาศึกษาทำให้เกิดองค์ความรู้ หรือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น การออกดอกของพืชบางชนิดที่เปลี่ยนไปจากในอดีต ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ  ทั้งนี้ตัวอย่างพรรณไม้ที่เก็บเข้าพิพิธภัณฑ์นั้นไม่ได้มีเพียงแต่ชิ้นส่วนพืช แต่รวมไปถึงข้อมูลต่างๆ ที่ได้บันทึกในการระหว่างเก็บตัวอย่างพืชจากในพื้นที่ ณ เวลานั้น ซึ่งสามารถนำมาใช้วิจัยด้านอื่นๆ ได้ รวมไปถึงประโยชน์ทั้งในเชิงอนุรักษ์ หรือการบริหารจัดพื้นที่ธรรมชาติ หรือการคาดการณ์เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่ตัวอย่างต่างๆ ที่เก็บรวบรวมในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งจะเป็นหลักฐานอ้างอิงที่ดีในเชิงวิทยาศาสตร์ 
ในปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติถูกคุกคาม หรืออยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ หรือบางอย่างอาจได้สูญพันธุ์ไปแล้ว การให้คำบ่งชี้เช่นนี้ได้นั้น เนื่องมาจากการมีการเก็บรวบรวมตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ไว้เป็นอย่างดี มีประวัติมากเพียงพอ มีความเชื่อมโยงทั่วโลก เพื่อตรวจสอบ ยืนยันข้อมูลเหล่านั้น ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า บทบาทของการเก็บรวบรวมตัวอย่างต่างๆ ทั้งพรรณไม้  cell line จนมาถึงในปัจจุบันที่กล่าวกันมากถึงการเก็บ DNA มีความสำคัญมากเพียงใด ในประเทศไทย โดยเฉพาะ สวทช. ที่ได้ตั้งธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) ซึ่งเป็นผู้เก็บรวบรวมสิ่งของเหล่านี้ รวมไปถึงการสร้างคลังเก็บข้อมูล หรือที่เรียนกว่า biodata bank และนำไปสู่การพัฒนาเป็น IT platform เพื่อให้สามารถนำข้อมูลต่างๆ ที่มีนำออกมาใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการของผู้ใช้ที่มีความแตกต่างและหลากหลายได้ ตามโจทย์วิจัย หรือการนำไปพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ

Project Gallery

bottom of page