top of page

บริการคลังเก็บรักษาเชื้อจุลินทรีย์
NBT Culture Collection (NBTCC)

รับฝากเชื้อจุลินทรีย์

ระยะเวลาให้บริการ

เวลาทำการของ Fungarium: 9.00-17.00 น.


ช่วงเวลารับคำร้อง: วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00-12.00 น. 


หมายเหตุ ในกรณีที่คำร้องจากลูกค้าเข้ามาหลัง 12.00 น.

จะดำเนินการในวันถัดไป

Service Level Agreement (SLA) 2022 
สัญญาการให้บริการ

  1. การส่งมอบ NBTCC code ในกรณีเชื้อผ่านการตรวจสอบคุณภาพ

  2. การปฎิเสธการรับฝาก ในกรณีเชื้อเห็ดราไม่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ​

  3. ส่งมอบ NBTCC และหรือปฏิเสธการรับฝาก ภายในระยะเวลา 15 วันทำการ

  4. รับบริการฝากเชื้อเห็ดราครั้งละไม่เกิน 30 สายพันธุ์​

  5. SLA เริ่มต้นจากวันที่ตัวอย่าง ถึงที่ทำการ NBTCC และเจ้าหน้าที่ลงเลขที่รับเชื้อ 

  6. แจ้ง E-mail กลับลูกค้าวันที่ลงเลขรับตัวอย่าง เริ่มต้นการนับ SLA

เอกสารเพิ่มเติม

วิธีกาารเตรียมเชื้อเพื่อนำส่ง

References I-NS-NBT-xx

download

แบบฟอร์มฝากเชื้อจุลินทรีย์

References I-NS-NBT-xx

download

Genomic DNA

References I-NS-NBT-xx

download

ภาระกิจ

​ธนาคารจุลินทรีย์ (MNBT) ได้ทำการวิจัยในสาขาต่างๆ เช่น การวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อสนับสนุนโครงการอนุรักษ์โดยเฉพาะในประเทศไทย ประกอบด้วย งานด้านอนุกรมวิธาน การจำแนก การจัดระบบ สำรวจประชากร การกระจายชนิดพันธุ์ และการอนุรักษ์จุลินทรีย์ระยะยาว เนื่องด้วยนักวิจัยของ MNBT มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการวิจัยภาคสนามและในห้องปฏิบัติการ ดังนั้นจุลินทรีย์จำนวนมากได้ถูกคัดแยก และ แยกเชื้อบริสุทธิ์ เก็บรักษาเพื่อการวิจัยในอนาคต ทักษะดังกล่าวถูกนำไปใช้ในการตรวจสอบ ดูแลและจัดการการอนุรักษ์เชื้อบริสุทธิ์ที่มีความหลากหลายในระยะยาว

ตรวจสอบการเก็บรักษาจุลินทรีย์ในระยะยาวเพื่อให้มั่นใจว่าจุลินทรีย์จะอยู่รอดและคงคุณสมบัติไว้ได้สูงสุด ก่อนที่จะนำการรวบรวมจุลินทรีย์เข้าสู่ระบบ จะต้องได้รับการตรวจสอบการปนเปื้อน ชนิดและคุณสมบัติก่อนจัดเก็บ ซึ่งเชื้อที่ NBTCC รับจัดเก็บระยะยาว ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ต่อไปนี้:

เกณฑ์การรับฝากเชื้อจุลินทรีย์

ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติรับฝากเก็บเฉพาะจุลินทรีย์ที่สามารถดำเนินการเก็บแบบระยะยาวได้และจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง BSL1 หรือ BSL2 เท่านั้น โดยจุลินทรีย์ที่รับฝากเก็บต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

 

  1. เป็นจุลินทรีย์อ้างอิง ประเภท holotype, paratype, lectotype, neotype, isotype, syntype, extype หรือจุลินทรีย์อ้างอิงรูปแบบอื่นที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

  2. เป็นจุลินทรีย์ที่ค้นพบในประเทศไทยเป็นครั้งแรก

  3. เป็นจุลินทรีย์ที่อยู่ในบัญชี Rare list/Red list/IUCN list/Uncommon taxa

  4. เป็นจุลินทรีย์ที่มีความทนต่อสภาวะแวดล้อมสุดขั้ว (extreme environment)

  5. เป็นจุลินทรีย์จากสภาพแวดล้อมจำเพาะ (unique habitat)

  6. เป็นจุลินทรีย์จากพื้นที่อ่อนไหว (sensitive area)

  7. เป็นจุลินทรีย์ได้รับการจำแนกว่าเป็นชนิดเดียวกันกับที่เคยฝากเก็บแล้ว แต่พิสูจน์ได้ว่ามาจากแหล่งกำเนิด สภาพแวดล้อม สภาพภูมิประเทศที่แตกต่างกัน

  8. เป็นจุลินทรีย์ชนิดที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการวิชาการ

มีข้อสงสัย ต้องการซักถาม

หรือ ขอคำปรึกษา ติดต่อได้ 2 ทาง

📩 : nbtmicrobe@nstda.or.th

📞 : +66 2 564 7000 ต่อ 71454​​

bottom of page