top of page

ประวัติพิพิธภัณฑ์เห็ดรา


พิพิธภัณฑ์เห็ดรา หรือ BIOTEC Bangkok Herbarium (BBH) มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่ปี 2539 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นใช้ชื่อย่อสถานที่เก็บตัวอย่างเห็ดราคือ NBCRC herbarium โดยมี ดร.ไนเจล ไฮเวลโจนส์ เป็นผู้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการราวิทยาหัวหน้าห้องปฏิบัติการศึกษากลุ่มราก่อให้เกิดโรคในแมลง ร่วมกับ ทีมเห็ดราขนาดใหญ่ โดยมี ศาสตราจารย์ เกียรติ์คุณ ดร.โรเบริด เจแบนโดนี่ และ ศาสตราจารย์ เกียรติ์คุณ ทิมโมที ฟลีเจล ผู้ก่อตั้งทีมงานวิจัยเห็ดราขนาดใหญ่ของ สวทช.


📌 ยุคแรก (พ.ศ. 2529 - 2530) จากปี 2539 มีการก่อตั้งห้องปฏิบัติการราวิทยา นักวิจัยที่มีชื่อเสียงระดับ โลกได้มารวมตัวกันและสร้างงานวิจัยที่หลากหลายด้าน โดยเฉพาะ ดร.ไนเจล ไฮเวลโจนส์ ได้ทุ่มเทกำลังกายและใจก่อตั้งกลุ่มวิจัยงานด้านราก่อให้เกิดโรคในแมลง โดยเริ่มต้นจากการเป็นนักกีฎวิทยา ศึกษาด้านประชากรแมลง เปลี่ยนมาเป็นนักอนุกรมวิธานด้านราก่อให้เกิดโรคบนแมลง กลายมาเป็นกลุ่มที่พบความหลากหลายสูงมากที่สุดในโลก ซึ่งตัวอย่างแห้งทั้งหมดของงานวิจัยนี้ได้จัดเก็บ ณ พิพิธภัณฑ์เห็ดรา ตัวอย่างรหัสแรกที่ได้รับการฝาก คือ NHJ00632 Aschersonia cf. paraphysata ตัวอย่างเก็บจาก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2537 ณ วันนั้นตัวอย่างราก่อให้เกิดโรคในแมลง เป็นหนึ่งในกลุ่มตัวอย่างมีจำนวน +10,000 ตัวอย่าง


ตัวอย่างเห็ดราขนาดใหญ่ หรือ Marco fungi นำโดย ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ โรเบริด แบนโดนี และ ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ทิมโมที วิเลียม ฟลีเกล ได้มีการเก็บรวบรวมตัวอย่างจากการสำรวจครั้งที่สองของประเทศไทย ที่มีผู้เชี่ยวชาญจากนานาชาติเข้าร่วมงาน ในปี 2539 ตัวอย่างแรกที่ฝากคือ RJB7753 Auricularia mesenterica (Dicks.) Pers. (1822) วันที่ 10 สิงหาคม 2529 จัดจำแนกโดย Julieta Carranza ในช่วงปีนั้นเป็น ตัวอย่างของเห็ดราขนาดใหญ่กลุ่มนี้มีประมาณ 2500 ตัวอย่าง


📌 ยุคแรก (ช่วงสอง พ.ศ. 2530 - 2537) การศึกษาราจากธรรมชาติในป่าไม้ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลา 10-12 ปีที่ผ่านมา ในช่วงเวลาดังกล่าวผู้เชี่ยวชาญด้านความหลากหลายทางชีวภาพของราทำลายแมลงในประเทศไทย ได้เริ่มต้นงานวิจัยตั้งแต่ปี 2532 ณ ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ หรือ the National Biological Control Research Center ขณะนั้นมี ดร.บรรพจ ณ ป้อมเพชร

สังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ ในช่วงเวลาดังกล่าวข้อมูลทั้งหมดใช้รูปแบบการจัดเก็บฐานข้อมูลด้วย Borland's Paradox


นอกจากกลุ่มงานวิจัยความหลากหลายของราก่อให้เกิดโรคในแมลงแล้ว งานวิจัยด้านความหลากหลายของเห็ดราขนาดใหญ่ก็ได้เริ่มต้นในช่วงระยะเวลาเดียวกัน โดยมีผู้เชี่ยวชาญนำคณะโดย ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ โรเบริต์ เจ เบนโดนี และศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ทิมโมที วิลเลี่ยม ฟลีเจล ซึ่งขณะนั้นทำงานเป็นอาจารย์ประจำ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินงานร่วมกับ ศาสตราจารย์ มรกต ตันติเจริญ ผอ. ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ National Center for Genetic Engineering and Biotechnology (BIOTEC) จึงได้เริ่มเปิดการศึกษาวิจัยอนุกรมวิธานและจัดระบบการจัดการตัวอย่าง ตั้งแต่ปี 2529 ณ BIOTEC


📌 ยุคแรก (ช่วงสาม พ.ศ. 2537 - 2539) ต่อมา ดร.ไนเจล ไฮเวล-โจนส์ และทีมวิจัยด้าน "ราก่อให้เกิดโรคในแมลง" ได้ย้ายจาก ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ หรือ the National Biological Control Research Center มาประจำ ณ BIOTEC ในปี 2537 และได้มีการ ก่อตั้ง "ห้องปฏิบัติการราวิทยา" หรือ Mycology Laboratory ในช่วงเดือน สิงหาคม ปี 2539 ในขณะเดียวกันกลุ่มงานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพด้าน "เห็ดราขนาดใหญ่" นำกลุ่มศึกษาโดย ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ โรเบริต์ เจ เบนโดนี และ ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ทิมโมที วิลเลี่ยม ฟลีเจล ได้เข้าร่วมกลุ่มงานของห้องปฏิบัติการราวิทยาในขณะเดียวกัน

ดู 30 ครั้ง0 ความคิดเห็น

コメント


bottom of page