วันนี้ ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) จะขอนำเสนอเรื่อง “Halojulella avicenniae ราทะเลที่พบได้ในป่าโกงกางที่พืชเด่นเป็นพืชในสกุลแสม (Avicennia)” หลังจากที่ได้ทำความรู้จักจุลินทรีย์กลุ่มราทะเลกันไปบ้างหลายชนิดแล้ว (โพสต์ก่อนหน้านี้) 🧫🌊👇🏻
ราจึงทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลายที่สำคัญในระบบนิเวศทางทะเล โดยราทะเลผลิตเอนไซม์เพื่อย่อยสารประกอบอินทรีย์คาร์บอนที่รายึดเกาะ พวกเซลลูโลส ลิกนิน และลิกโนเซลลูโลส แล้วปลดปล่อยสารอินทรีย์คาร์บอนและธาตุอาหารต่างๆ เช่น คาร์บอน ไนโตรเจน และ ฟอสฟอรัส เป็นต้น ออกมาเพื่อเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ทำให้เกิดการหมุนเวียนแร่ธาตุและสารอาหารต่าง ๆ ในระบบนิเวศป่าชายเลน 🌳🌊
ราทะเล Halojulella avicenniae ถูกค้นพบในประเทศไทยได้ที่ไหนบ้าง❔ พบบนต้นไม้ชนิดใด❔ มีบทบาทสำคัญอย่างไรในระบบนิเวศ❔ รูปร่างหน้าตา ราทะเล Halojulella avicenniae จะเป็นอย่างไร❔ ตามไปดูกันได้ที่ภาพนี้เลย ✨👇🏻
📚 เอกสารอ้างอิง
· Ariyawansa, H. Jones, E.B.G., Suetrong, S., Alias, S.A., Kang, J.-C. and Hyde, K.D. (2013). Halojulellaceae, a new family of the order Pleosporales. Phytotaxa 130: 14-23.
· Hyde, K.D. (1992). Julella avicenniae (Borse) comb. Nov. (Thelenellaceae) from intertidal mangrove wood and miscellaneous fungi from the NE coast of Queensland. Mycological Research 96: 939-942.
· Jones, E.B.G., Pilantanapak, A., Chatmala, I., Sakayaroj, J., Phongpaichit, S. and Choeyklin, R. (2006). Thai marine fungal diversity. Songklanakarin J. Sci. Technol. 28(4): 687-708.
· Pointing, S.B., Buswell, J.A., Jones, E.B.G. and Vrijmoed, L.L.P. (1999). Extracellular cellulolytic enzyme profiles of five lignicolous mangrove fungi. Mycol. Res 103: 696-700.
🙏🏻 กิตติกรรมประกาศ: ผลงานได้รับการสนับสนุนจาก สวทช. และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
📍 ที่มาข้อมูล: ทีมวิจัยราทะเล สวทช.
📍 อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
📱 website : https://www.nationalbiobank.in.th/
📱 X : https://twitter.com/ThaiBiobank
Comentários