top of page

โครงการศึกษาอนุกรมวิธานและการใช้ประโยชน์เห็ดราขนาดใหญ่กรณีศึกษาพื้นที่อุทยานธรณีสตูล จังหวัดสตูล

จำนวนตัวอย่างที่พบ

  • 592

จำนวนความหลากชนิด

  • 144

พื้นที่วิจัย

  • สตูลจีโอพาร์ค

M1.jpg

บทคัดย่อ

   จากการเก็บตัวอย่างของนักวิจัย สวทช. พบเห็ดจำนวน 592 ตัวอย่างจำแนกแล้วร้อยละ 52 พบว่ามีชนิดที่แตกต่างกันตามข้อมูลชีวโมเลกุล จำนวน 144 ชนิด จากจำนวนตัวอย่างทั้งหมดสามารถแยกเชื้อได้จำนวน 177 สายพันธุ์ คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 30 ของจำนวนทั้งหมด ในการจำแนกนี้มาจากตัวอย่างที่เก็บได้ระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึงเดือน กันยายน 2563 เป็นช่วงเวลาที่ภาครัฐผ่อนปรนให้เดินทางได้ ทำให้นักวิจัยสามารถดำเนินกิจกรรมดังกล่าวได้สำเร็จจากเป้าหมายที่ตั้งไว้จำนวน 100 ชนิด และเชื้อเห็ดบริสุทธิ์และตัวอย่างเห็ดนั้นยังคงต้องรอศึกษาเพิ่มเติมเพื่อจัดจำแนกชนิดและหาศัยกภาพในการนำไปใช้ในอนาคตต่อไป

M10.jpg

เนื้อหาโครงการ

ผลงานตีพิมพ์

   กิจกรรมแบ่งออกเป็น 2 กิจกรรมใหญ่คือ นักวิจัยจากสวทช.ร่วมลงพื้นที่กับชุมชน และภาครัฐสำรวจเก็บตัวอย่างและศึกษาทรัพยากรชีวภาพร่วมกัน เนื่องจากช่วงต้นปี 63 เกิดสถานการณ์ไวรัสระบาดทำให้ปิดกั้นการเดินทางและต้องปรับแผนการดำเนินกิจกรรม เมื่อ สำนักปลัดกระทรวง อว. มีโครงการจ้างงานผู้ประสบภัยจากการระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าว ทำให้นักวิจัย สวทช. ธนาคารทรัพยากรชีวภาพ รวมกลุ่มหารือกับชุมชน จ้างงานคนของสองตำบลคือ ทุ้งหว้า และ ระงู จำนวน 13 คนเป็นแกนนำร่วมศึกษาไปกับนักวิจัย สวทช. เพื่อนำองค์ความรู้ วิธีการ การศึกษาและแนวทางพัฒนาเก็บไว้และถ่ายทอดในท้องถิ่น

   พบว่ากิจกรรมดังกล่าวส่งผลให้เกิดการเก็บข้อมูลทรัพยากรและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรนั้นจำนวนมากกว่า 300 ข้อมูล พบว่าข้อมูลเห็ดมีจำนวนมากกว่า แต่กลับมีข้อมูลการใช้ประโยชน์น้อยกว่าแสดงให้เห็นถึงชุมชนรู้จักเห็ดราน้อยมาก แต่เมื่อชุมชนเข้าใจวิธีการศึกษา เช่นการสังเกตุการขึ้น การอาศัยร่วมระหว่างสิ่งมีชีวิต ความเกี่ยวพันธุ์และบทบาทในธรรมชาติ ทำให้เข้าใจถึงระบบนิเวศน์ และมีความต้องการการอนุรักษ์ และ ต้องการสำรวจสูงขึ้น จนขึ้นทะเบียนกลุ่มท่องเที่ยวชมป่าหาเห็ดไปพร้อมกับการดูฟอสซิล ซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่งทำให้เพิ่มกิจกรรมในการท่องเที่ยว พบว่าการสนับสนุนการท่องเที่ยวนั้นต้องหาจุดเด่นของพื้นที่ที่นอกเหนือจากฟอสซิลแล้ว ยังมีทรัพยากรอื่นที่น่าสนใจอีกเช่น เห็ดเรืองแสง เห็ดถ้วย เห็ดปะการัง เป็นต้น เห็ดเหล่านี้สามารถเพิ่มปริมาณได้และทำให้เกิดความสวยงามในฤดูฝนหรือ ปลายฝนต้นหนาวซึ่งเหมาะกับการท่องเที่ยว
   จากการเก็บตัวอย่างของนักวิจัย สวทช. พบเห็ดจำนวน 592 ตัวอย่างจำแนกแล้วร้อยละ 52 พบว่ามีชนิดที่แตกต่างกันตามข้อมูลชีวโมเลกุล จำนวน 144 ชนิด จากจำนวนตัวอย่างทั้งหมดสามารถแยกเชื้อได้จำนวน 177 สายพันธุ์ คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 30 ของจำนวนทั้งหมด ในการจำแนกนี้มาจากตัวอย่างที่เก็บได้ระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึงเดือน กันยายน 2563 เป็นช่วงเวลาที่ภาครัฐผ่อนปรนให้เดินทางได้ ทำให้นักวิจัยสามารถดำเนินกิจกรรมดังกล่าวได้สำเร็จจากเป้าหมายที่ตั้งไว้จำนวน 100 ชนิด และเชื้อเห็ดบริสุทธิ์และตัวอย่างเห็ดนั้นยังคงต้องรอศึกษาเพิ่มเติมเพื่อจัดจำแนกชนิดและหาศัยกภาพในการนำไปใช้ในอนาคตต่อไป

M9.jpg

ติดต่อเรา

Contact2024_TH.png
facebook (6).png
twitter (5).png
email (4).png
ส่งข้อความหาเรา

ขอบคุณสำหรับข้อมูล!

bottom of page